5 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ ดวงตาสดใส ชะลอตาเสื่อม ผู้สูงอายุ

672 จำนวนผู้เข้าชม  | 

5 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ ดวงตาสดใส ชะลอตาเสื่อม ผู้สูงอายุ

5 เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ ดวงตาสดใส ชะลอตาเสื่อม ผู้สูงอายุ

อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการมองเห็นของดวงตา ที่อาจมีการมองเห็นไม่ชัดเจน โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อาทิ วัยที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดความเสื่อมต่างๆ ของร่างกายและดวงตา

รูปแบบการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดโรคนั้นๆ อุบัติเหตุ กรรมพันธุ์ หรืออื่นๆ โดยการเฝ้าระวัง หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ หรือป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีส่วนช่วยดูแลป้องกันสุขภาพดวงตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการมองเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย โดยเฉพาะการใช้สายตาในชีวิตประจำวันที่มีสิ่ง

1. ตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี
ดวงตาเป็นหนึ่งอวัยวะที่ซับซ้อน และอาการระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ การเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตากับจักษุแพทย์ พร้อมเครื่องมือเฉพาะทาง จะช่วยให้จักษุแพทย์ค้นหาสิ่งผิดปกติที่ซ่อนอยู่ด้านในของดวงตาที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้และยังไม่แสดงอาการ เพื่อป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที

2. หมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่ผิดปกติต่อดวงตา เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ได้ดังนี้
2.1  ตาแห้ง
สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาจเกิดได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การจ้องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน การใช้ยาบางชนิด หรือการไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งในผู้หญิงสูงวัยสามารถเกิดอาการตาแห้งได้จากภาวะการขาดฮอร์โมนเพศ จากการหมดประจำเดือน ส่งผลให้การผลิตน้ำตาน้อยลง โดยอาจส่งผลให้มีอาการเหล่านี้ ไม่สบายตา แสบร้อนดวงตา คันตา เคืองตา มีน้ำตาไหลมากผิดปกติ เป็นต้น

2.2 โรคต้อกระจก
เกิดจากเลนส์แก้วตามีการขุ่นตัว มักพบมากในผู้สูงอายุ โดยส่วนมากมักพบในอายุ 50 ปีขึ้นไป หากปล่อยไว้จะส่งผลเสียต่อการมองเห็นไปเรื่อยๆ โดยผู้ที่เป็นต้อกระจกส่วนมากมักจะมีอาการสายตามัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง มองไม่ชัด มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม เป็นต้น

2.3 โรคจอประสาทตาเสื่อม
คือกระบวนการเสื่อม หรือถูกทำลายของจุดศูนย์กลางการรับภาพของจอประสาทตา โดยปัจจัยเสี่ยงเกิดได้จาก อายุ โดยพบมากในอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยพบว่าผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม มากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ถึง 4 เท่า

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์สม่ำเสมอ
3.1 รับประทานผักผลไม้สม่ำเสมอ 
การรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และครบสารอาหาร 5 หมู่นั้น นอกจากจะให้สารอาหารครบถ้วนช่วยบำรุงร่างกายแล้ว ยังได้รับเกลือแร่และวิตามิน ช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตาและสายตาอาทิเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตาและสายตา

3.2 บำรุงด้วยวิตามิน หรือสารสกัดที่ช่วยบำรุงสายตา
ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ควบคู่การใช้ดวงตาในชีวิตประจำวันที่มีผลต่อสุขภาพตา เช่นแสงสีฟ้าจากจอต่างๆ แสงแดด ลม หรือพฤติกรรมที่ใช้สายตาต่อเนื่องนานๆ การบำรุงด้วยวิตามินหรือสารสกัดที่ช่วยบำรุง หรือถนอมดวงตา เช่น ลูทีน บิลเบอร์รี่ ลูกพรุน วิตามินเอ วิตามินบี เป็นต้น

3.3 ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 8 แก้ว ต่อวัน
การดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายและดวงตา ไม่ขาดน้ำ และช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำตาได้เพียงพอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันตาแห้ง

4. สวมใส่แว่นตากันแดดทุกครั้งเมื่ออยู่กลางแจ้ง
แสงแดดเป็นอันตรายต่อสายตา เมื่อปล่อยให้ดวงตาสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงเป็นประจำ ซึ่งส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก ควรสวมแว่นกันแดดทุกครั้งเมื่ออยู่กลางแจ้ง

5. การใช้น้ำตาเทียมให้เหมาะสม
เพื่อช่วยหล่อลื่นดวงตาให้ผิวดวงตาชุ่มชื้น จากอาการตาแห้ง ช่วยบรรเทาอาการแสบตา ระคายเคือง กระจกตาถลอก หรือลดการอักเสบของแผลที่กระจกตาจากอาการตาแห้งได้

6. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังช่วยส่งผลดีให้กับสุขภาพร่างกาย และจิตใจ รวมถึงลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคต่างๆ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับดวงตา และยังเป็นหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสูญเสียต่อการมองเห็น เพราะฉะนั้น การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะและสม่ำเสมอ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้